ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับโครงสร้างของโปรแกรมเมบิลคอนโทรลเลอร์ การเขียนคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรมเบิลคอนโทรลเลอร์ หลักการทำงานของหน่วยอินพุต เอาต์พุต เซนเซอร์ที่ใช้วัดและตรวจจับความเร็วความดัน อุณหภูมิ อัตราการไหล ระดับ น้ำหนัก แสง พร็อกซิมิตี้สวิตช์ อุปกรณ์ควบคุม ตัวตั้งเวลา ตัวนับ ลิมิตสวิตช์ ฯลฯ การนำโปรแกรมคอนโทรลเลอร์และคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเซนเซอร์และอุปกรณ์ควบคุมแบบต่าง ๆและเครือข่ายการควบคุม
ครูชัยวัฒน์ พอพิน
Available courses
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการควบคุมตามลำดับ (Sequence Control) การเลือกและจัดวางอุปกรณ์และอุปกรณ์เชื่อมต่อ และความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เขียนโปรแกรมและออกแบบโปรแกรมตามเงื่อนไขที่กำหนด ประกอบอุปกรณ์ควบคุมและทดสอบ บำรุงรักษาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ เขียนโปรแกรมควบคุมผ่านจอแบบสัมผัสและการควบคุมกำกับดูแลและเก็บข้อมูล (SCADA)
ศึกษาเกี่ยวกับกฎมาตรฐานทางไฟฟ้า การคำนวณ ออกแบบการติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบจ่ายกำลัง แสงสว่าง สื่อสาร ระบบป้องกัน ระบบไฟฟ้าภายในอาคาร นอกอาคาร และในโรงงาน ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบกราวด์
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทำงาน โครงสร้างส่วนประกอบ เครื่องมืออุปกรณ์ การอ่านและเขียนวงจร การต่อวงจร การทดสอบการทำงานของวงจร การวิเคราะห์ตรวจซ่อมและบำรุงรักษา การออกแบบวงจรตามเงื่อนไขการทำงานของเครื่องจักร การควบคุมการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส การควบคุมโซลีนอยด์การควบคุมด้วยเซนเซอร์ ไทเมอร์ เคาเตอร์ การควบคุมความเร็วรอบหมุนด้วยอินเวอร์เตอร์ การควบคุมด้วยพีแอลซี ทัชสกรีนและ โปรแกรมเขียนวงจรควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
ปฏิบัติงานในสถานประกอบการในการวางแผน วิเคราะห์ แก้ปัญหาควบคุมคุณภาพงานควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า ด้วยอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติชนิดต่าง ๆ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการบูรณาการความรู้และทักษะในระดับเทคนิคที่สอดคล้องกับสาขาวิชาชีพที่ศึกษาเพื่อสร้างและพัฒนาด้วยกระบวนการทดลอง สำรวจ ประดิษฐ์คิดค้น หรือการปฏิบัติงานเชิงระบบ การเลือกหัวขัวโครงการ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลและเอกสารอ้างอิง การเขียนโครงการ การดำเนินงานโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลผล การสรุปจัดทำรายงาน การนำเสนองานโครงการ ดำเนินการเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มตามลักษณะของงานให้แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด